PHOTOHOW2 การถ่ายภาพ ทิป เทคนิค

สวัสดีปีใหม่ครับ

เริ่มปีใหม่ กับเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม งั้นปีเสือปีนี้ ขอลองเอาภาพทำเป็น Free wallpaper แจกกันไปเลย ทริปไหน มีภาพไหนเด็ด จะทำออกมาให้โหลดไปใช้กันฟรีๆ ลำหรับขนาดที่คิดไว้ก็ขออยู่ที่ 1600x900 พิกก่อนครับ และอีกแนวคิดคือ การพรีวิวกล้องมาใหม่ ทั้งที่เข้า และไม่กล้าเข้าไทย เอาให้หลายๆ จ้าว อย่าง canon nikon panasonic sony olympus ฯ จะได้ครบและหลากหลาย

การเผยแพร่บทความ ทางผมไม่หวงเลยครับ เพียงแต่ขอลงท้ายไว้หน่อยครับว่ามาจาก http://photohow2.blogspot.com/ ^_^..........................นายยอด.

เอาปฏิทินมาฝากครับ เพิ่ง ทำเสร็จ ถ้าชอบ ช่วยส่งต่อด้วย ลองใช้ดูไม่ถูกใจยังไงบอกกันบ้างครับ คลิกตามลิ้งค์นี้ หรือดูตามหัวข้อด้านล่าง
เริ่มเขียนก็เริ่มเยอะ ผมเลยเพิ่มสารบัญมาให้ค้นหาง่ายขึ้นครับ ที่มุมขวามือนี้นะ ------>>>

15 พฤษภาคม 2552

วัดแสง 2 แบบเฉลี่ยหนักกลาง และเฉพาะจุด

คราวก่อนเขียนเรื่องวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ ให้ที่ลองอ่านกันแล้วครับ คราวนี้ผู้เขียนจะมาจบหัว 2 วิธีการวัดแสงที่เหลือ

แบบเฉลี่ยหนักกลาง
ก็ยังยุ่งกับพื้นที่สี่เหลี่ยมของภาพอีกเหมือนเดิมครับ การวัดแสงแบบนี้กล้องจะแบ่งพื้นที่การคำนวณโดยการใส่กล่องสี่เหลี่ยมลงไปในกรอบภาพ ทำให้พื้นที่ในกรอบภาพถูกแบ่งออกเป็น สองส่วนคือ ส่วนนอก กับส่วนใน

ซึ่งกรอบส่วนในจะใหญ่จะเล็กแล้วแต่กล้องแต่ละยี่ห้อที่จะทำมาครับ ซึ่งบอกไว้ในคู่มือนั่นเองจากนั้นเมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง กล้องจะวัดแสง จะมีการแบ่งคำนวณค่าแสงออกเป็นกรอบในกับกรอบนอกเช่นกัน ได้ค่ามาสองค่า แล้วนำค่าทั้งสองมาเฉลี่ยกัน ในอัตราส่วนที่กรอบส่วนในจะสำคัญมากกว่า เช่น ใน : นอก เป็น 70:30 เป็นต้น

การใช้งานของการวัดแสงแบบนี้ ใช้เมื่อกรณีที่ต้องการให้ความสำคัญกับแบบมากกว่า เช่นภาพบุคคล ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวแบบหรือโซนที่แบบอยู่มากกว่าพื้นหลัง เป็นต้น

แบบเฉพาะจุด
วิธีนี้จะเป็นการกำหนดกรอบที่จะคำนวณค่าแสง เช่นกัน แต่จะแตกต่างในสองเรื่อง คือ เรื่อแรกกล้องจะใช้ค่าในกรอบ หรือจุดๆเดียวนี้เลยครับ ไม่ไม่มีการสนใจค่าแสงในกรอบนอก เรื่องที่สอง คือ กรอบ หรือจุดที่ใช้คำนวณนี้ มีขนาดเล็กลงมากครับ เช่น อาจจะมีขนาดเพียง 2 หรือ 4 เปอร์เซนต์จากพื้นที่ทั้งหมดของภาพเท่านั้นเอง ซึ่งก็แล้วแต่ผู้ผลิตเช่นกันครับเหตุที่จุดคำนวณมีขนาดเล็กมากนี้เอง จึงให้ค่าการวัดแสงที่แม่นยำมาก

ง่ายๆคือ ยิ่งเล็กก็ยิ่งแม่น จึงนิยมนำไปใช้วัดค่าแสงในสภาพแสงที่มีความซับซ้อนกันอย่างมาก เพื่อการวัดแสงในจุด ต่างๆในภาพแล้วเอามาหาค่าในการเซ็ตกล้องที่น่าพอใจที่สุด

ทิ้งท้าย
การหัดใช้งานว่าจะใช้แบบไหนดี ยังต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์อย่างมากครับ ดังนั้นแล้ว ในครั้งแรกให้ลองหัดใช้การวัดแสงแบบใดแบบหนึ่งจนมั่นใจก่อน แล้วจึงค่อยๆหัดใช้แบบต่อๆไปครับ ใจเย็นๆ ยังมีอะไรให้คิดอีกเยอะเลยครับ ^_^คราวหน้า เดี๋ยวเล่าเรื่องสีที่กล้องเห็นให้ดูกันครับ
ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

1 ความคิดเห็น:

โอ้ท@Oath กล่าวว่า...

จริงด้วยค่ะ วัดแสงนี้ไม่ง่ายเลย ขอบคุณค่ะ

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จัง ว่าคิดไงกับบทความนี้ครับ

กิจกรรมที่น่าออกทริป

งานแสดงพลุนานาชาติประจำปี 2552-54
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา งานจัดที่ี่เมืองทองธานี โดยการแสดงและการประกวดพลุนานาชาติจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 4 ชุด ได้แก่
- ชุดปฐมฤกษ์เบิกฟ้า มหาราชาในดวงใจจากประเทศจีน
- ชุด ธ จอมไทย เกริกไกรทั่วทิศ จากประเทศญี่ปุ่น
- ชุดพระร่มโพธิ์เพชรปกเกล้า ร่มเย็นทั่วแคว้นแดนสยาม จากชมรมพลุประเทศไทย
- ชุดเกร็ดแก้วแพรวนภา ทั่วหล้าเทิดไท้องค์ราชัน จากประเทศเยอรมนี
ส่วนอีกครั้งในเดือน สิงหาคม และธันวาคม จะที่ไหนนั้น เด๊่ยวผมจะตามเรื่องมาฝากครับ