PHOTOHOW2 การถ่ายภาพ ทิป เทคนิค

สวัสดีปีใหม่ครับ

เริ่มปีใหม่ กับเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม งั้นปีเสือปีนี้ ขอลองเอาภาพทำเป็น Free wallpaper แจกกันไปเลย ทริปไหน มีภาพไหนเด็ด จะทำออกมาให้โหลดไปใช้กันฟรีๆ ลำหรับขนาดที่คิดไว้ก็ขออยู่ที่ 1600x900 พิกก่อนครับ และอีกแนวคิดคือ การพรีวิวกล้องมาใหม่ ทั้งที่เข้า และไม่กล้าเข้าไทย เอาให้หลายๆ จ้าว อย่าง canon nikon panasonic sony olympus ฯ จะได้ครบและหลากหลาย

การเผยแพร่บทความ ทางผมไม่หวงเลยครับ เพียงแต่ขอลงท้ายไว้หน่อยครับว่ามาจาก http://photohow2.blogspot.com/ ^_^..........................นายยอด.

เอาปฏิทินมาฝากครับ เพิ่ง ทำเสร็จ ถ้าชอบ ช่วยส่งต่อด้วย ลองใช้ดูไม่ถูกใจยังไงบอกกันบ้างครับ คลิกตามลิ้งค์นี้ หรือดูตามหัวข้อด้านล่าง
เริ่มเขียนก็เริ่มเยอะ ผมเลยเพิ่มสารบัญมาให้ค้นหาง่ายขึ้นครับ ที่มุมขวามือนี้นะ ------>>>

18 พฤษภาคม 2552

การถ่ายภาพกลางคืน (NIGHT SHOT)



การถ่ายภาพกลางคืน หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงามจะได้ภาพที่แปลกตาการถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เราสามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน

การถ่ายภาพที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง คือการถ่ายภาพตอนหลังดวงอาทิตย์ตกจนถึงตอนกลางคืน เช่นถ่ายภาพไฟบนท้องถนน ไฟจากหน้าต่างของโรงแรมใหญ่ ๆ การถ่ายรูปดวงจันทร์วันเพ็ญ หรือการถ่ายภาพดอกไม้ไฟและพลุสีสวยสดใสงานรื่นเริงหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงตอนกลางคืน


เทคนิคและการถ่ายภาพตอนกลางคืน การถ่ายภาพกลางคืนไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป โดยเฉพาะแสงสีในเมืองนั้น สามารถถ่ายภาพให้ดูสวยงามได้ง่ายๆ เพียงแต่มีกล้องที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ และหาวิธีป้องกันภาพสั่นไหวจากความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ หากถือกล้องด้วยมือ ภาพที่ได้จะเบลอไม่คมชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยลดการสั่นไหวได้เป็นอย่างดี หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ เช่น 1 วินาที หรือต่ำกว่านั้น ไม่ควรใช้นิ้วกดปุ่ม ชัตเตอร์โดยตรง เพราะเพียงกดชัตเตอร์เบาๆ ก็อาจเกิดการสั่นไหวจนส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความคมชัดควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบถ่ายภาพหน่วงเวลาก็ได้ กล้องบางรุ่นเลือกหน่วงเวลาช่วงสั้นๆ เช่น 2 หรือ 3 วินาที ทำให้ถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องรอคอยนานเกินไป สำหรับกล้องดิจิตอลเมื่อมีสิ่งรองรับกล้องที่มั่นคง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูงๆ ควรปรับ ISO ไปที่ต่ำสุด เพื่อให้ภาพที่ได้มี Noise น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย


การถ่ายภาพตอนกลางคืนวัตถุที่ถูกถ่ายก็คือต้นกำเนิดแสงตามท้องถนน เช่นไฟของรถยนต์ ไฟข้างถนน ไฟจากหน้าต่างของตึกรามบ้านช่องจึงไม่มีการจัดแสงเหมือนตอนถ่ายภาพตอนกลางวัน แต่ก็ควรจัดองค์ ประกอบให้ตำแหน่งดวงไฟต่าง ๆ อยู่ในกรอบของภาพอย่างน่าดู การตั้งหน้ากล้องในการถ่ายภาพตอนกลางคืน ไม่เหมือนตอนกลางวันที่มีค่าถูกต้องเพียงค่าเดียว ค่าการฉายแสงเมื่อถ่ายภาพตอนกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะแสดงอะไรในภาพถ่าย




ถ้าต้องการถ่ายภาพพลุหรือดอกไม้ไฟควรใช้ขาตั้งกล้อง ใช้สายลั่นไกชัตเตอร์ ถ้าถ่ายภาพพลุให้โฟกัสภาพที่ไกลสุดแล้วเปิดหน้ากล้องประมาณ f/8 ใช้เวลา 2-3 วินาทีเป็นต้น ถ้าต้องการจะถ่ายภาพให้เห็นดวงประทีปโคมไฟบนท้องถนนในขณะมีงาน เฉลิมฉลอง เช่นคืนวันเฉลิมพระชนมพรรษาก็อาจจะเปิดหน้ากล้อง f8 -f16 เวลา 1/2 วินาที ก็อาจจะถ่ายภาพ ติดโดยใช้ ISO สูง แต่ถ้าเปิดหน้ากล้องนานถึง 4 วินาที ก็จะมีเส้นแสงเนื่องจากไฟหน้ารถยนต์ปรากฏเพิ่มเติมในภาพดูงามตา



ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ตอนกลางคืนอาจใช้เส้นแสงในแนวทะแยงนำไปสู่จุดสำคัญในภาพ และถ้าถ่ายให้เห็นแสงสะท้อนในน้ำด้วย ก็จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับการถ่ายภาพตอนกลางคืนที่มีการแสดง ดนตรี ท่านควรเลือกใช้ค่า ISOที่สูงเช่น 400 800 หรือ 1600 พร้อมปรับ f ให้กว้างก็จะสามารถถ่ายภาพโดยใช้มือถือได้โดยไม่ควรใช้แฟลต เพราะแสงแฟลชจะไปทำลายบรรยากาศและแสงสีภายในห้องแสดง เป็นต้น การถ่ายภาพในเวลากลางคืนนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้ 1. กล้องถ่ายภาพชนิดที่มีความเร็วชัตเตอร์ B หรือ T 2. ขาตั้งกล้อง 3. สายไกชัตเตอร์ 4. นาฬิกาจับเวลา 5. ไฟฉายดวงเล็ก ๆ 6. สมุดบันทึกสำหรับจดรายละเอียด เช่น เวลาในการเปิดหน้ากล้อง


วิธีการถ่ายภาพ

1. ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม

2. ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด

3. คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง (โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8)

4. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ 10 -60 วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้


การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลาย ๆ ภาพ โดยใช้เวลาในการบันทึกภาพ และขนาดรูรับแสงต่าง ๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้


ดังที่ทราบว่าการถ่ายภาพกลางคืน จะใช้การเปิด f แคบ เพื่อให้สปีดช้าลงกว่าเดิม จะสังเกต ว่า ภาพที่ อยู่ในจอ หากเป็นวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว ก็ จะเกิดเป็น เส้น ของการเคลื่อนไหว เช่น ถ่ายรูปรถที่กำลังวิ่ง อยู่ตอนกลางคืน ด้วยการถ่ายกลางคืน ไฟหน้า ไฟท้าย จะเป็นเส้น ยาวๆ หรือในทางกลับกัน หาก วัตถุที่เราจะถ่ายกลางคืน ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว หากต้องการให้ภาพเป็นเสันสาย สามารถใช้มือเรา ดันกล้องให้เคลื่อนไหว ซะเอง ขณะกด ชัตเตอร์ผลก็คือภาพจะเป็นเส้นเช่นเดียวกัน






บทความ : pirun.ku.ac.th

ภาพและเรียบเรียง : photohow2.blogspot.com



2 ความคิดเห็น:

MadeByKC กล่าวว่า...

วิธีการถ่ายภาพ ข้อ 4 ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้คือคลุมในขณะที่กดซัตเตอร์ค้างไว้ใช้มั้ยค่ะ แล้วเราคลุมไว้เพื่ออะไรค่ะ

นาย yod กล่าวว่า...

ปกติกล้องจะไม่บันทึกสีดำครับ เราจึงคลุมผ้าไม่ให้แสงเข้า ใช้กรณีจะวาดอะไรซักอย่างต่อเนื่องกันในจุดที่ว่าง เช่น ต้องการให้พลุที่ขึ้นจุดเดียว กลายเป็นพลุเต็มเฟรม ทำได้โดย วางตำแหน่งพลุในมุมข้างใดข้างนึงก่อน พอพลุมาก็กด B พลุชุดแรกหมดก็คลุมผ้า แล้วแพนกล้องให้พลุอยู่ตำแหน่งกลาง พลุมาเอาผ้าออก กล้องก็จะเก็บสีต่อ พอหมดคลุมผ้าก็แพนไปตำแหน่งที่ว่างเพื่อรอชุดที่ 3 ลองดูครับ

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จัง ว่าคิดไงกับบทความนี้ครับ

กิจกรรมที่น่าออกทริป

งานแสดงพลุนานาชาติประจำปี 2552-54
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา งานจัดที่ี่เมืองทองธานี โดยการแสดงและการประกวดพลุนานาชาติจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 4 ชุด ได้แก่
- ชุดปฐมฤกษ์เบิกฟ้า มหาราชาในดวงใจจากประเทศจีน
- ชุด ธ จอมไทย เกริกไกรทั่วทิศ จากประเทศญี่ปุ่น
- ชุดพระร่มโพธิ์เพชรปกเกล้า ร่มเย็นทั่วแคว้นแดนสยาม จากชมรมพลุประเทศไทย
- ชุดเกร็ดแก้วแพรวนภา ทั่วหล้าเทิดไท้องค์ราชัน จากประเทศเยอรมนี
ส่วนอีกครั้งในเดือน สิงหาคม และธันวาคม จะที่ไหนนั้น เด๊่ยวผมจะตามเรื่องมาฝากครับ