PHOTOHOW2 การถ่ายภาพ ทิป เทคนิค

สวัสดีปีใหม่ครับ

เริ่มปีใหม่ กับเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม งั้นปีเสือปีนี้ ขอลองเอาภาพทำเป็น Free wallpaper แจกกันไปเลย ทริปไหน มีภาพไหนเด็ด จะทำออกมาให้โหลดไปใช้กันฟรีๆ ลำหรับขนาดที่คิดไว้ก็ขออยู่ที่ 1600x900 พิกก่อนครับ และอีกแนวคิดคือ การพรีวิวกล้องมาใหม่ ทั้งที่เข้า และไม่กล้าเข้าไทย เอาให้หลายๆ จ้าว อย่าง canon nikon panasonic sony olympus ฯ จะได้ครบและหลากหลาย

การเผยแพร่บทความ ทางผมไม่หวงเลยครับ เพียงแต่ขอลงท้ายไว้หน่อยครับว่ามาจาก http://photohow2.blogspot.com/ ^_^..........................นายยอด.

เอาปฏิทินมาฝากครับ เพิ่ง ทำเสร็จ ถ้าชอบ ช่วยส่งต่อด้วย ลองใช้ดูไม่ถูกใจยังไงบอกกันบ้างครับ คลิกตามลิ้งค์นี้ หรือดูตามหัวข้อด้านล่าง
เริ่มเขียนก็เริ่มเยอะ ผมเลยเพิ่มสารบัญมาให้ค้นหาง่ายขึ้นครับ ที่มุมขวามือนี้นะ ------>>>

13 พฤษภาคม 2552

วัดแสง1 แบบเฉลี่ยทั้งภาพ

จากที่เกร่นมาคราวก่อนนะครับว่ากว่าจะได้ภาพมาต้องอะไรบ้าง ส่วนที่จะนำเสนออีกเรื่องวันนี้เป็นส่วนที่คอยควบคุม speed f ISO ว่าทำไงกล้องจะรู้ว่าอย่างไหนต้องเท่าไหร่



เหล่านี้จะรู้ได้ด้วยการวัดแสง ซึ่งตัววัดแสงจะติดมากับกล้องเกือบทุกตัวในปัจจุบัน จะเรื่องทำงานพร้อมกับการโฟกัสภาพ เมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งครับ

การวัดแสงแบ่งออกเป็น 3 แบบคือใหญ่ๆ คือ


วัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Evaluation Matrix Metering )


แบบเฉลี่ยหนักกลาง(Center Weighted Average Metering )


แบบเฉพาะจุด(Spot Metering)


มาว่าถึงการวัดแสงแต่ละแบบกันเลย


วัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Evaluation Matrix Metering )


ถ้าดูรูปที่กล้องแล้วงง ให้ดูคู่มือด่วนเลยนะครับ ดูว่ากล้องเรา ภาพแบบนี้เรียกว่าอะไร น่าจะ [(*)]


ประมาณนี้มังครับ โดยตัว * ตรงกลางจะมีลักษณะเหมือนดวงตา


มาดูลักษณะการทำงานของวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ กัน วิธีนี้จะใช้การแบ่งพื้นที่ในภาพ หรือช่องมองภาพออกเป็นส่วนๆ แล้วเอาทุกส่วนมาคำนวณ แล้วเฉลี่ยให้ได้ตามที่ตั้งไว้ ดูวิธีวัดแสงข้างล่างครับวัดและอ่านค่ากันตามนั้นเลย

แต่ก็ตามชื่อเลยจริงมั้ยครับ เฉลี่ยทั้งภาพ คือเอาทั้งภาพมาเฉลี่ย แล้วใช้กับอะไร การวัดแสงแบบนี้ใช้กับแสงปกติทั่วไปครับ เช่นกลางแจ้ง ที่สภาพแสงด้านมืดกับสว่างไม่ต่างกันมาก


ภาพนี้เก็บตอนเช้า แดดยังไม่แรงมาก แต่มีคามสว่างมาเจือๆ พร้อมหมอก ช่วยกัน วัดเฉลี่ยได้เลยคร้าบ


วิธีการวัดแสง



ผลที่ได้จากการวักแสงค่อ มืดไป-- พอดี-- และสว่าง ไป หรือที่เรียกว่า under พอดี และ Over ซึ่งการอ่านจะอ้างอิงกับตำแหน่ง 0 ตรงกลาง แต่ละหน่วยเรียกว่า stop(สตอป) จากภาพวัดแสงได้ under 1/2 stop









บทนี้หากจะลองปรับดูให้ตั้งกล้องไปที่โหมด M (Manual) นะครับ



ขึ้นอยู่กับการตั้ง ISO f และ speed ซึ่งจะสัมพันธ์กันเสมอ เช่น ตั้ง ISO 100 และตั้ง f ที่ 8 และอยากให้ภาพออกมาพอดี ทำการวัดแสง(กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง) ตัวชี้สีแดงในภาพ ถ้าพอดีต้องมาชี้ที่ 0 หากตัวชี้ไปโผล่ด้าน under หรือ over ให้ปรับโดย speed หรือ s ไปด้วยขณะวัดแสง




กลัวจะมึนพักก่อนนะครับ อีก 2 แบบ จะมาต่อให้อีกที


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จัง ว่าคิดไงกับบทความนี้ครับ

กิจกรรมที่น่าออกทริป

งานแสดงพลุนานาชาติประจำปี 2552-54
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา งานจัดที่ี่เมืองทองธานี โดยการแสดงและการประกวดพลุนานาชาติจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 4 ชุด ได้แก่
- ชุดปฐมฤกษ์เบิกฟ้า มหาราชาในดวงใจจากประเทศจีน
- ชุด ธ จอมไทย เกริกไกรทั่วทิศ จากประเทศญี่ปุ่น
- ชุดพระร่มโพธิ์เพชรปกเกล้า ร่มเย็นทั่วแคว้นแดนสยาม จากชมรมพลุประเทศไทย
- ชุดเกร็ดแก้วแพรวนภา ทั่วหล้าเทิดไท้องค์ราชัน จากประเทศเยอรมนี
ส่วนอีกครั้งในเดือน สิงหาคม และธันวาคม จะที่ไหนนั้น เด๊่ยวผมจะตามเรื่องมาฝากครับ