PHOTOHOW2 การถ่ายภาพ ทิป เทคนิค

สวัสดีปีใหม่ครับ

เริ่มปีใหม่ กับเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม งั้นปีเสือปีนี้ ขอลองเอาภาพทำเป็น Free wallpaper แจกกันไปเลย ทริปไหน มีภาพไหนเด็ด จะทำออกมาให้โหลดไปใช้กันฟรีๆ ลำหรับขนาดที่คิดไว้ก็ขออยู่ที่ 1600x900 พิกก่อนครับ และอีกแนวคิดคือ การพรีวิวกล้องมาใหม่ ทั้งที่เข้า และไม่กล้าเข้าไทย เอาให้หลายๆ จ้าว อย่าง canon nikon panasonic sony olympus ฯ จะได้ครบและหลากหลาย

การเผยแพร่บทความ ทางผมไม่หวงเลยครับ เพียงแต่ขอลงท้ายไว้หน่อยครับว่ามาจาก http://photohow2.blogspot.com/ ^_^..........................นายยอด.

เอาปฏิทินมาฝากครับ เพิ่ง ทำเสร็จ ถ้าชอบ ช่วยส่งต่อด้วย ลองใช้ดูไม่ถูกใจยังไงบอกกันบ้างครับ คลิกตามลิ้งค์นี้ หรือดูตามหัวข้อด้านล่าง
เริ่มเขียนก็เริ่มเยอะ ผมเลยเพิ่มสารบัญมาให้ค้นหาง่ายขึ้นครับ ที่มุมขวามือนี้นะ ------>>>

08 พฤษภาคม 2552

ประวัติการถ่ายภาพ ต่างประเทศ และในประเทศไทย

เริ่มต้นในช่วง ค.ศ.18 ในช่วงของยุคบาโรค Barogue ในยุคนี้ศิลปะมีความฟู้ฟ้ามาก และได้เริ่มมีการถ่ายภาพขึ้น ทำให้ศิลปินเริ่มมีการวาดภาพจากภาพถ่าย
เช่น Vermeerค.ศ. 1825) - นิเซฟอร์ นิเอปเซ่ (Nicéphore Niépce) ถ่ายภาพเป็นครั้งแรกโดยใช้ยางมะตอยจูเดีย (bitumen of Judea)
(ค.ศ. 1839) - ฌากส์ ดาแกร์ (Jacques Daguerre) ซึ่งเคยทำงานกับนิเอปเซ่ ประดิษฐ์วิธีการถ่ายภาพใหม่ คือ ดาแกโรไทป์ (Daguerreotype) โดยใช้โลหะเงินบนแผ่นทองแดงในการถ่ายภาพ.



ซึ่งดารแกร์พบว่า เมื่อนำเงินมาอังด้วยไอของไอโอดีนก่อนใช้ถ่ายภาพ แล้วนำไปอังด้วยไอปรอท จึงได้ภาพ

โดยการชุบกระดาษด้วยซิลเวอร์คลอไรด์ เพื่อทำภาพเนกาทิฟ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน



(ค.ศ. 1840) - วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต (William Fox Talbot) ประดิษฐ์คาโลไทป์ (Calotype)
(ค.ศ. 1861) - เจมส์ คลาร์ก แม็กซ์เวล (James Clerk Maxwell) ถ่ายภาพสีเป็นครั้งแรก


ในประเทศไทย

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พ. ศ. 2408 จอห์น ทอมสัน หรือ เจ. ทอมสัน ชาวอังกฤษ ได้นำกล้องถ่ายภาพเข้ามาในประเทศไทยเขาได้บันทึกภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย รวมถึงภาพพระราชพิธีโสกันต์รัชกาลที่ 5 ด้วย ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป ในปี พ. ศ. 2450 ได้ถวายรูปแก่พระองค์ด้วย


ในหนังสือสยามประเทศ ซึ่งเป็นหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง ฉบับประจำวันที่ 11 เมษายน พ. ศ. 2444 กล่าวว่า พระยาไทรบุรี ได้ส่งรูปสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งกรุงชาวอังกฤษมาทูลเกล้าถวายรัชกาลที่ 3 แต่รัชกาลที่ 3 ไม่ทรงเชื่อว่าเป็นรูปถ่าย ภายหลังรูปนี้นำไปติดไว้ที่ท้องพระโรง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ด้านทิศตะวันตก สมัยนั้นคนไทยเรียกว่า " รูปเจ้า วิลาด " แต่ต่อมาถูกปลดออกไปติดที่อื่น เมื่อ เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษจะเข้ามาทำสัญญาทรงพระราชไมตรีกับไทย ในปี พ. ศ. 2398


ซึ่งนับเป็นรูปถ่ายรูปแรกในเมืองไทยส่วนผู้ที่ถ่ายรูปในเมืองไทยเป็นคนแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ สังฆราช ปาเลอกัว ชาวฝรั่งเศส เคยอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ภายหลังย้ายไปครองวัด คอนเซ็บชัญ ใกล้ๆ วัดราชาธิวาส ซึ่งรัชกาลที่ 4 ผนวชอยู่ จึงเป็นที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน สังฆราชปาเลอกัวนี้อยู่เมืองไทยนานถึง 30 ปี ภายหลังจึงพิมพ์หนังสือพจนานุกรมเล่มใหญ่ 4 ภาษา ซี่งเป็นภาษาอังกฤษ ไทย ฝรั่งเศส และลาติน กล่าวกันว่า สังฆราชปาเลอกัว มีประดิษฐกรรมตระกูลเดียวกับกล้องถ่ายรูปที่เรียกว่า " ถ้ำมอง " ซึ่งใช้เป็นกลยุทธในการเผยแพร่ศาสนา เพราะไปที่ใดก็จะชักชวนผู้คนให้มาเข้าวัด โดยการเอา " ถ้ำมอง " นี้ ไปล่อให้คนมามุงดูรูปใน " ถ้ำมอง "

ที่เชื่อว่า สังฆราชปาเลอกัว จะเป็นผู้ถ่ายรูปในเมืองไทยคนแรก เพราะเมื่อกลับไปฝรั่งเศสแล้ว สังฆราชปาเลอกัวยังได้พิมพ์หนังสือในฝรั่งเศสเรื่อง เล่าเรื่องเมืองสยาม พ. ศ. 2397 ในหนังสือเล่มนี้มีภาพลายเส้นของเมืองไทยถึง 20 ภาพ ซึ่งเชื่อได้ว่าวาดจากต้นฉบับ เพราะเหมือนกับภาพจริงมาก


สำหรับชาวไทยที่ถ่ายรูปในเมืองไทยเป็นคนแรก คือ พระยากระสาปน์ กิจโกศล หรือนายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล พระยา กระสาปน์ กิจโกศลนี้ บรรดาศักดิ์ก่อนหน้าคือ พระวิสูตรโยธามาตย์ มีบทความบทหนึ่งในหนังสือชื่อ Philadephia Photographer ที่ตีพิมพ์ ในปี พ. ศ. 2408 ซึ่งเอนก นาวิกมูล ได้รับจากสถาบันโซเนียน เมื่อปี พ. ศ 2526 กล่าวว่า เมื่อพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ ส่งอุปกรณ์รูปถ่ายครบชุดมาถวายรัชกาลที่ 4 พระวิสูตรโยธามาตย์ ผู้นี้ก็สามารถถ่ายรูปโดยใช้กล้องถ่ายรูปนี้ได้สำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จัง ว่าคิดไงกับบทความนี้ครับ

กิจกรรมที่น่าออกทริป

งานแสดงพลุนานาชาติประจำปี 2552-54
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา งานจัดที่ี่เมืองทองธานี โดยการแสดงและการประกวดพลุนานาชาติจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 4 ชุด ได้แก่
- ชุดปฐมฤกษ์เบิกฟ้า มหาราชาในดวงใจจากประเทศจีน
- ชุด ธ จอมไทย เกริกไกรทั่วทิศ จากประเทศญี่ปุ่น
- ชุดพระร่มโพธิ์เพชรปกเกล้า ร่มเย็นทั่วแคว้นแดนสยาม จากชมรมพลุประเทศไทย
- ชุดเกร็ดแก้วแพรวนภา ทั่วหล้าเทิดไท้องค์ราชัน จากประเทศเยอรมนี
ส่วนอีกครั้งในเดือน สิงหาคม และธันวาคม จะที่ไหนนั้น เด๊่ยวผมจะตามเรื่องมาฝากครับ