PHOTOHOW2 การถ่ายภาพ ทิป เทคนิค

สวัสดีปีใหม่ครับ

เริ่มปีใหม่ กับเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม งั้นปีเสือปีนี้ ขอลองเอาภาพทำเป็น Free wallpaper แจกกันไปเลย ทริปไหน มีภาพไหนเด็ด จะทำออกมาให้โหลดไปใช้กันฟรีๆ ลำหรับขนาดที่คิดไว้ก็ขออยู่ที่ 1600x900 พิกก่อนครับ และอีกแนวคิดคือ การพรีวิวกล้องมาใหม่ ทั้งที่เข้า และไม่กล้าเข้าไทย เอาให้หลายๆ จ้าว อย่าง canon nikon panasonic sony olympus ฯ จะได้ครบและหลากหลาย

การเผยแพร่บทความ ทางผมไม่หวงเลยครับ เพียงแต่ขอลงท้ายไว้หน่อยครับว่ามาจาก http://photohow2.blogspot.com/ ^_^..........................นายยอด.

เอาปฏิทินมาฝากครับ เพิ่ง ทำเสร็จ ถ้าชอบ ช่วยส่งต่อด้วย ลองใช้ดูไม่ถูกใจยังไงบอกกันบ้างครับ คลิกตามลิ้งค์นี้ หรือดูตามหัวข้อด้านล่าง
เริ่มเขียนก็เริ่มเยอะ ผมเลยเพิ่มสารบัญมาให้ค้นหาง่ายขึ้นครับ ที่มุมขวามือนี้นะ ------>>>

16 พฤษภาคม 2552

โซนกับการถ่ายภาพสี



กล้องในยุคปัจจุบันนี้นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความทันสมัยมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบโฟกัสอัตโนมัติ หรือการวัดแสง ถ้าจะกล่าวเฉพาะการวัดแสงก็จะพบว่าได้มีการสร้างสรรค์ระบบการวัดแสงใหม่ๆขึ้นมาเพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการวัดแสงมากนัก

ด้วยเทคโนโลยีชั้นเยี่ยมนี้ทำให้กล้องถ่ายภาพแบบ 35 mm SLR ในปัจจุบันมีความสะดวกต่อการใช้งานเกือบจะเทียบเท่ากล้องที่คนไทยมักเรียกกันว่า "กล้องปัญญาอ่อน" เลยทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีในกล้องไฮเทคจะสลับซับซ้อนเพียงใด มันก็ยังไม่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด ช่างภาพที่คิดถ่ายภาพอย่างจริงจังก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ พื้นฐานทางด้านนี้




ถ้าจะกล่าวเฉพาะเรื่องการวัดแสง ก็ต้องบอกว่าระบบวัดแสงทั้งแบบเฉลี่ยหนักกลางหรือแบบแบ่งพื้นที่หลายส่วน รวมถึงระบบวัดแสงแบบRGB ก็ยังไม่ใช่เป็นหลักประกันได้แน่นอนว่าภาพของคุณจะได้รับค่าแสงอย่างถูกต้อง ระบบวัดแสงเฉพาะจุดบวกกับความเข้าใจของช่างภาพต่างหากที่จะสามารถทำให้เขามั่นใจได้ว่าภาพที่ออกมาจะเป็นไปตามที่เขาคิดไว้


ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่ว่าเทคโนโลยีไม่มีประโยชน์ เทคโนโลยีนั้นมีทั้งคุณและโทษ เพียงแต่เราต้องใช้มันอย่างสร้างสรรค์และรับรู้ถึงข้อจำกัดบางอย่างของมันเท่านั้นเอง ในที่นี้ผมจะขอพูดเจาะลึกในรายละเอียดของการวัดแสงกับระบบโซนที่คิดค้นโดย Ansel Adams ช่างภาพขาวดำนามอุโฆษ โดยจะเน้นถึงการวัดแสงแบบเฉพาะจุดเท่านั้น เพราะเป็นระบบวัดแสงที่เปิดโอกาสให้ช่างภาพได้วัดค่าแสงได้ละเอียดมากขึ้น ถ้าคุณไม่มีระบบวัดแสงแบบนี้ก็ไม่เป็นไร เพราะคุณยังสามารถใช้ระบบวัดแสงที่มีในกล้องของคุณแทนได้ ไม่ว่าจะโดยการใช้เลนส์เทเลช่วยให้พื้นที่วัดแสงของคุณแคบลงหรือโดยการเคลื่อนตัวเข้าไปวัดแสงใกล้ๆ


ก่อนที่คุณจะอ่านบทความนี้ต่อไป คุณต้องมีความเข้าใจเรื่องค่าแสงดีพอสมควร ต้องเข้าใจว่า ความไวแสงของฟิล์ม ความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงมีผลต่อค่าแสงอย่างไร เช่นถ้าผมบอกว่า ค่าแสงที่ 1/125 sec. f/5.6 ISO 50 และ 1/30 sec. f/11 ISO 50 และ 1/125 f/8 ISO100 มีค่าเทียบเท่ากัน คุณก็ต้องเข้าใจในคำกล่าวนี้ หรือคุณก็ต้องเข้าใจว่า วัตถุที่วัดแสงได้ 1/250 f/8 มีความสว่างหรือค่าการสะท้อนแสงมากกว่าวัตถุที่วัดแสงได้ 1/125 f/2.8 อยู่ 4 สต็อป อย่างนี้เป็นต้น ถ้าคุณไม่เข้าใจถึงสิ่งเหล่านี้ คุณสามารถหาหนังสือถ่ายภาพทั่วๆไปมาอ่านได้ไม่ยากนัก


ปฐมบทของระบบโซน
เครื่องวัดแสงทั้งหลายนั้นจะอ่านค่าแสงออกมาเป็นค่าสีเทากลางเสมอ ค่าสีเทากลางก็คือสีเทาที่สะท้อนแสง 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีโทนสีเช่นเดียวกับกระดาษ Gray Card ของ Kodak นั่นหมายความว่า ถ้าคุณวัดแสงเฉพาะจุดไปที่กำแพงสีขาว และปรับค่าการรับแสงตามที่เครื่องวัดแสงบอก ภาพที่คุณจะได้ก็คือภาพกำแพงสีเทาที่สะท้อนแสง 18 เปอร์เซ็นต์ และถ้าคุณวัดแสงเฉพาะจุดไปที่ กระเป๋ากล้องสีดำ ภาพที่ได้ก็จะเป็นกระเป๋ากล้องสีเทาเช่นกัน



Ansel Adams ปรมาจารย์ภาพขาวดำ ได้แบ่งโทนสีเทาออกเป็น 11 โซน ตั้งแต่โซน 0 ถึง โซน 10 โดยโซน 5 ก็คือค่าสีเทากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานในเครื่องวัดแสงทั่วไปดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง ซึ่งค่าสีเทากลางนี้จะมีค่าการสะท้อนแสงเท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ถ้ามีแสงมาตกกระทบเท่ากับ 100 หน่วย มันจะสะท้อนแสงออกมา 18 หน่วย และคุณก็รู้ว่า ถ้าคุณลดค่าแสงลงจากค่าที่เครื่องวัดแสงบอก(โดยปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ไวขึ้น หรือหรี่รูรับแสงให้แคบลง) คุณก็จะได้ภาพที่มืดลงหรือมีสีเทาที่เข้มขึ้น และถ้าคุณเพิ่มค่าแสงขึ้น ก็จะได้ภาพที่มีโทนสีที่สว่างขึ้นหรือมีสีเทาที่สว่างขึ้น Ansel Adams ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อลดค่าแสงจากที่อ่านได้ในเครื่องวัดแสงลง 1 สต็อป คุณจะได้สีเทาที่จัดอยู่ในโซน 4 และถ้าเพิ่มค่าแสงขึ้น 1 สต็อปคุณก็จะได้สีเทาที่อยู่ในโซน 6 เป็นเช่นเรื่อยไป นั่นคือ โซน 4 จะมีค่าสีเทาที่เข้มกว่า โซน 5 หรือมีค่าการสะท้อนแสงน้อยกว่าโซน 5 อยู่ 1 สต็อป หรือโซน 8 จะมีค่าสีเทาที่สว่างกว่าโซน 5 หรือมีค่าการสะท้อนแสงมากกว่าโซน 5 อยู่ 3 สต็อป


จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า โซน 0 ถึง 10 นั้นก็คือค่าสีเทาที่ไล่จากเข้มไปอ่อน สีเทาที่เข้มที่สุดก็คือสีดำ และสีเทาที่อ่อนที่สุดก็คือสีขาว และโซนแต่ละโซนอยู่ติดกันนั้นก็สว่างหรือเข้มต่างกันอยู่ 1 สต็อป ถ้าจะถามว่าสีดำหรือสีขาวจะอยู่ในโซนเท่าไรนั้น คำตอบมันขึ้นอยู่กับชนิดของฟิล์มที่ใช้ ฟิล์มขาวดำ ฟิล์มสี หรือฟิล์มสไลด์ก็จะให้คำตอบที่แตกต่างกัน สำหรับฟิล์มขาวดำนั้น Ansel Adams ได้บอกว่า โซน 0 ก็คือสีดำสนิท และโซน 10 ก็คือสีขาวที่ไม่มีรายละเอียด และยังบอกอีกว่า ช่วงโซนที่ยังให้รายละเอียดกับภาพอยู่ คือไม่ดำและขาวจนขาดรายละเอียดก็คือ โซน 2 ถึง 8 ซึ่งเรียกว่า Textural Range


ระบบโซนกับภาพสี
สิ่งที่ Ansel Adams ได้กำหนดไว้นั้นจะเกี่ยวข้องอยู่กับสีขาว เทา และดำ ทั้งนี้เพราะว่าเขาเป็นช่างภาพขาวดำนั่นเอง คำถามจึงมีอยู่ว่าคุณจะเอาทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพสีได้อย่างไร ซึ่งประเด็นคำตอบนั้นก็คือ ถ้าคุณสามารถรู้ได้ว่าวัตถุสีอะไรควรจะอยู่ในโซนเท่าไร หรือมีค่าการสะท้อนแสงแตกต่างจากโซน 5 อยู่กี่สต็อป คุณก็สามารถใช้ประโยชน์จากทฤษฎีดังกล่าวได้ การที่ต้องอ้างอิงโซนอื่นๆกับโซน 5 นั้นก็เพราะว่า เครื่องวัดแสงทั่วไปจะอ่านค่าแสงเป็นค่าเทากลางโซน 5 เสมอ การอ้างอิงดังกล่าวจะทำให้คุณนำทฤษฎีนี้ไปใช้งานจริงได้ง่ายขึ้น ผมขอแนะนำเป็นหลักกว้างๆว่า สีอะไรบ้างที่มีค่าการสะท้อนแสงประมาณได้กับค่าสีเทากลาง 18 เปอร์เซ็นต์ (โซน 5) ดังนี้




- สีเขียวที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป เช่น สีเขียวของใบไม้ ทุ่งหญ้า


- สีน้ำตาล เช่น สีเปลือกไม้ ใบไม้แห้ง


- สีแดง เช่นสีแดงของดอกไม้ต่างๆ


- สีฟ้า เช่น ท้องฟ้าที่มีสีฟ้าเข้มๆ




การที่คุณรู้ว่าวัตถุใดสีใดบ้างที่อยู่ในโซน 5 ก็จะทำให้คุณรู้ได้ไม่ยากว่าวัตถุใดสีใดบ้างที่อยู่ในโซนอื่นๆ ก็โดยการเปรียบเทียบค่าการสะท้อนแสงของวัตถุนั้นกับวัตถุที่อยู่ในโซน 5 เช่น คุณรู้ว่าใบไม้สีเขียวอยู่ในโซน 5 และคุณก็อาจจะพอประมาณได้ว่า ถ้าเป็นใบไม้สีเหลืองอ่อนก็น่าจะอยู่ประมาณโซน 5ครึ่ง หรือ 6 เพราะค่าการสะท้อนแสงของสีเหลืองนั้นน่าจะมากกว่าสีเขียวอยู่ประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งสต็อป


แต่อย่าลืมว่า นี่คือข้อแนะนำคร่าวๆเท่านั้น เพราะโทนสีนั้นแตกต่างกันไปตามธรรมชาติของวัตถุนั้นๆ เช่น ใบไม้ต่างๆก็มีโทนสีเขียวที่ไม่เท่ากัน และสิ่งที่ผมบอกว่าเป็นสีเขียวไม่อ่อนไม่แก่คุณก็ไม่รู้อยู่ดีว่ามันเป็นสีเขียวอย่างไรแน่ ประสบการณ์และการจดบันทึกข้อมูลการวัดแสงขณะถ่ายภาพจะทำให้คุณเรียนรู้ได้ไม่ยากว่า วัตถุสีใดควรจะอยู่ในโซนเท่าไร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งควรจะอันเดอร์หรือโอเวอร์เท่าไรจากค่าแสงที่เครื่องวัดแสงอ่านได้


ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเครื่องวัดแสงทั่วไปจะอ่านค่าแสงออกมาเป็นโซน 5 ทั้งสิ้น ในทางปฏิบัติ ถ้าคุณวัดแสงกับวัตถุที่อยู่ในโซน 5 และปรับค่าแสงตามนั้น ภาพวัตถุดังกล่าวก็จะมีโทนสีที่ถูกต้องหรือเข้มอ่อนตามที่ตาคุณเห็น แต่ถ้าคุณวัดแสงที่วัตถุซึ่งอยู่ในโซนอื่น และคุณเชื่อค่าที่เครื่องวัดแสงบอก โทนสีของวัตถุในภาพที่จะได้ก็จะไม่เหมือนกับที่ตาคุณเห็นขณะถ่ายมัน ดังตัวอย่างของกำแพงสีขาวหรือกระเป๋ากล้องสีดำที่กล่าวมาแล้ว


ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณจะถ่ายภาพทุ่งหญ้าคายามถูกแสงแดดตอนเย็นซึ่งมีสีทอง ถ้าคุณวัดแสงเฉพาะจุดไปที่ต้นหญ้า(สีทอง) และคุณเชื่อค่าแสงที่เครื่องวัดแสงบอกมา คุณอาจจะได้ภาพหญ้าคาที่มีโทนสีเข้มกว่าภาพที่ตาคุณเห็น และเพื่อให้ได้ภาพที่มีโทนสีเหมือนตาเห็นคุณอาจจะต้องเพิ่มค่าแสงไปอีก 1 สต็อป กล่าวคือ คุณให้หญ้าคาที่สะท้อนแสงสีทองอยู่ในโซน 6 (โอเวอร์กว่า โซน 5 อยู่ 1 สต็อป)




บทความโดย : คนกรุงเก่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จัง ว่าคิดไงกับบทความนี้ครับ

กิจกรรมที่น่าออกทริป

งานแสดงพลุนานาชาติประจำปี 2552-54
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา งานจัดที่ี่เมืองทองธานี โดยการแสดงและการประกวดพลุนานาชาติจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 4 ชุด ได้แก่
- ชุดปฐมฤกษ์เบิกฟ้า มหาราชาในดวงใจจากประเทศจีน
- ชุด ธ จอมไทย เกริกไกรทั่วทิศ จากประเทศญี่ปุ่น
- ชุดพระร่มโพธิ์เพชรปกเกล้า ร่มเย็นทั่วแคว้นแดนสยาม จากชมรมพลุประเทศไทย
- ชุดเกร็ดแก้วแพรวนภา ทั่วหล้าเทิดไท้องค์ราชัน จากประเทศเยอรมนี
ส่วนอีกครั้งในเดือน สิงหาคม และธันวาคม จะที่ไหนนั้น เด๊่ยวผมจะตามเรื่องมาฝากครับ