PHOTOHOW2 การถ่ายภาพ ทิป เทคนิค

สวัสดีปีใหม่ครับ

เริ่มปีใหม่ กับเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม งั้นปีเสือปีนี้ ขอลองเอาภาพทำเป็น Free wallpaper แจกกันไปเลย ทริปไหน มีภาพไหนเด็ด จะทำออกมาให้โหลดไปใช้กันฟรีๆ ลำหรับขนาดที่คิดไว้ก็ขออยู่ที่ 1600x900 พิกก่อนครับ และอีกแนวคิดคือ การพรีวิวกล้องมาใหม่ ทั้งที่เข้า และไม่กล้าเข้าไทย เอาให้หลายๆ จ้าว อย่าง canon nikon panasonic sony olympus ฯ จะได้ครบและหลากหลาย

การเผยแพร่บทความ ทางผมไม่หวงเลยครับ เพียงแต่ขอลงท้ายไว้หน่อยครับว่ามาจาก http://photohow2.blogspot.com/ ^_^..........................นายยอด.

เอาปฏิทินมาฝากครับ เพิ่ง ทำเสร็จ ถ้าชอบ ช่วยส่งต่อด้วย ลองใช้ดูไม่ถูกใจยังไงบอกกันบ้างครับ คลิกตามลิ้งค์นี้ หรือดูตามหัวข้อด้านล่าง
เริ่มเขียนก็เริ่มเยอะ ผมเลยเพิ่มสารบัญมาให้ค้นหาง่ายขึ้นครับ ที่มุมขวามือนี้นะ ------>>>

16 พฤษภาคม 2552

การประยุกต์ใช้งานระบบโซน

ภาพที่มีความเปรียบต่าง(Contrast)ไม่สูงมาก



ในทางปฏิบัติ เมื่อคุณถ่ายภาพที่มีความเปรียบต่างไม่สูงเกินกว่าที่ฟิล์มจะรับได้ (เช่นถ่ายภาพเมื่อตอนครึมฝน หรือท้องฟ้าปิดแสงกระจายทั่วไป) คุณก็สามารถวัดแสงได้ตามปกติ คือวัดแสงบริเวณที่คิดว่ามีค่าการสะท้อนแสงเท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์ หรือโซน 5 และปรับค่าแสงตามนั้น


หรือวัดแสงบริเวณอื่นที่มีค่าการสะท้อนแสงแตกต่างออกไป และชดเชยค่าแสงเพิ่มเติมจากค่าที่เครื่องบอกมา เช่น วัดแสงไปที่วัตถุซึ่งอยู่ในโซน 6 และปรับค่าแสงให้โอเวอร์ขึ้นไป 1 สต็อปจากค่าที่เครื่องวัดแสงบอก (เช่น เครื่องวัดแสงบอกว่า 1/125 f/5.6 เป็นค่าแสงที่ถูกต้อง




คุณก็ใช้ค่าแสงที่ 1/60 f/5.6) การที่จะรู้ว่าวัตถุที่คุณจะวัดแสงนั้นควรอยู่ในโซนเท่าไร(มีค่าการสะท้อนแสงมากหรือน้อยกว่า Gray Card อยู่กี่สต็อป)ก็ต้องอาศัยประสบการณ์และการหมั่นสังเกต จะเห็นว่าการวัดแสงโดยวางวัตถุให้ถูกต้องตามโซนเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ เช่น ถ้าคุณวัดแสงไปที่วัตถุที่สว่างกว่าโซน 5 อยู่ 1 สต็อป(โซน 6 นั่นเอง) และคุณเพิ่มค่าแสงขึ้น 1 สต็อปจากค่าที่เครื่องวัดแสงอ่านได้ คุณก็จะได้ภาพที่มีโทนสีตรงตามที่ตาคุณเห็น


กล่าวโดยย่อก็คือคุณสามารถที่จะวัดแสงไปที่วัตถุใดก็ได้ ตราบเท่าที่คุณรู้ว่ามันควรจะอยู่ในโซนเท่าไร และคุณก็ชดเชยค่าแสงตามนั้น ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องหาวัตถุที่มีค่าการสะท้อนแสงอยู่ในโซน 5 เพื่อที่จะวัดแสง เพราะในบางภาพบางสถานการณ์วัตถุที่อยู่ในโซน 5 อาจจะหาไม่ได้ เช่นอาจจะไม่มีใบไม้สีเขียว ดอกไม้สีแดง ท้องฟ้าสีเข้ม ให้คุณได้วัดแสง แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่คุณมีติดตัวตลอดเวลา และสามารถนำมาใช้ในการวัดแสงได้ นั่นก็คือ ฝ่ามือของคุณเอง




โดยทั่วไปฝ่ามือของคน(ผิวทั่วไปแบบชาวเอเซีย)จะมีค่าการสะท้อนแสงตกอยู่ในโซน 6 คือโอเวอร์กว่า Gray Card อยู่ 1 สต็อป (แต่คุณสามารถทดสอบดูเองได้ว่าฝ่ามือของคุณอยู่ในโซนเท่าไร โดยเทียบค่าแสงที่อ่านได้จากฝ่ามือกับค่าที่อ่านจาก Gray Card) ดังนั้นคุณสามารถที่จะวัดแสงที่ฝ่ามือของคุณแล้วชดเชยแสงเพิ่มขึ้น 1 สต็อปก็ได้ โดยต้องแน่ใจว่าแสงที่มากระทบฝ่ามือกับแสงในภาพของคุณเหมือนกัน เช่นถ้าคุณอยู่ในที่ร่มแล้วคุณถ่ายภาพที่มีแดดออก คุณก็ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้


มีข้อน่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ การวัดแสงให้ได้ภาพที่ใกล้เคียงกับที่ตาคุณเห็นอาจจะไม่ได้ภาพที่สวยงามเสมอไป บางครั้งการจงใจทำให้ภาพอันเดอร์หรือโอเวอร์ก็อาจจะทำให้ภาพดูดีกว่าก็เป็นได้ เช่น การถ่ายภาพรุ้งกินน้ำที่เกิดขึ้นกลางท้องนา ถ้าคุณทำให้รุ้งอันเดอร์ลงเล็กน้อย รุ้งจะมีสีเข้มขึ้นอาจทำให้ภาพดูสวยขึ้นก็เป็นได้ การรู้ว่าเมื่อใดควรวัดแสงให้พอดี และเมื่อได้ควรให้อันเดอร์หรือโอเวอร์ก็ต้องอาศัยประสบการณ์และการหมั่นสังเกตเป็นหลัก



ภาพที่มีความเปรียบต่าง(Contrast)สูงมาก


และถ้าคุณถ่ายภาพที่มีความเปรียบต่างสูง คุณก็ควรเช็คความเปรียบต่างของภาพก่อนเพื่อดูว่าเกินกว่าที่ฟิล์มจะรับได้หรือไม่ การเช็คความเปรียบต่างก็ทำได้โดยการวัดแสงไปที่ส่วนที่มืดที่สุดและส่วนที่สว่างที่สุดที่คุณยังต้องการให้พอมีรายละเอียดอยู่บ้าง และดูว่าค่าแสงที่ได้ในสองส่วนนี้ต่างกันอยู่กี่สต็อป(อยู่นอกช่วงTextural Rangeหรือไม่) จากนั้นก็จะรู้ว่ามันเกินกว่าที่ฟิล์มจะรับได้หรือไม่ ถ้าเกินก็หมายความว่าคุณต้องยอมให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพขาดรายละเอียดไป การที่จะยอมให้ส่วนมืด(Shadow)หรือส่วนสว่าง(Highlight)ของภาพขาดรายละเอียดนั้นก็แล้วแต่ความต้องการของคุณ โดยทั่วไปถ้าเป็นฟิล์มสไลด์คุณมักจะไม่ยอมให้มีส่วนที่โอเวอร์จนขาดรายละเอียดมากนัก นั่นคือคุณยอมให้ส่วนมืดขาดรายละเอียดมากกว่าที่จะให้ส่วนสว่างขาดรายละเอียด แต่ก็ไม่เสมอไป


หรือคุณอาจจะไม่ถ่ายภาพนั้นเลยก็ได้ถ้าคุณคิดว่าภาพที่จะได้มันไม่ตรงตามที่คุณจินตนาการไว้แต่แรก คุณอาจจะเช็คค่าแสงของบริเวณอื่นๆที่คุณสนใจด้วยซึ่งจะทำให้คุณรู้ว่า ส่วนต่างๆของภาพอยู่ในโซนเท่าไรบ้าง การรู้ถึงสิ่งนี้จะมีประโยชน์คือ มันจะทำให้คุณรู้ด้วยว่าภาพที่ออกมาจะให้โทนสีเป็นอย่างไร และจะยังพอเห็นรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนในบางบริเวณของภาพ หรือภาพที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณคิดไว้หรือไม่ กระบวนการมองเห็นภาพที่จะได้หรืออยากได้ก่อนที่คุณจะลงมือกดชัตเตอร์นั้นก็คือ สิ่งที่ Ansel Adams เรียกว่า Previsualization นั่นเอง



ถ้าถามว่าคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าภาพแบบไหนมีความเปรียบต่างสูงเสี่ยงต่อการสูญเสียรายละเอียดในบางส่วนไป คำตอบก็คือ แรกๆคุณอาจจะต้องเช็คความเปรียบต่างของภาพทุกภาพที่คุณถ่ายเพื่อตรวจสอบดู แต่เมื่อคุณเริ่มมีประสบการณ์ในการวัดแสงมากขึ้น เพียงคุณมองด้วยตาคุณก็รู้แล้วว่า ภาพไหนคุณไม่จำเป็นต้องเช็คความเปรียบต่างของภาพให้เสียเวลา หรือภาพไหนบ้างที่เพียงแต่คุณวัดแสงไปที่วัตถุโดยวางวัตถุนั้นในโซนที่ควรจะเป็นก็จะได้ภาพที่ดี


สมมติว่าคุณทดสอบหาช่วง Textural Range ของฟิล์มได้ว่า มันอยู่ในช่วง โซน 3 ถึง โซน 7 (4 สต็อป) และหลังจากที่คุณเช็คความเปรียบต่างของภาพพระอาทิตย์กำลังจะตกดินภาพหนึ่งแล้วปรากฏว่ามันเกินกว่าช่วง Textural Range คือเกิน 4 สต็อป และคุณตัดสินใจรักษารายละเอียดของส่วนสว่างเอาไว้ โดยยอมให้ส่วนมืดบางส่วนมืดจนขาดรายละเอียดไป วิธีการวัดแสงก็ทำได้โดยการให้คุณวัดแสงเฉพาะจุดไปที่ส่วนสว่างที่สุดที่คุณยังอยากให้เห็นรายละเอียดอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะเป็นส่วนของท้องฟ้าด้านบน แล้วคุณก็เพิ่มค่าแสงให้ส่วนนี้โอเวอร์ 2 สต็อปเพื่อวางให้มันอยู่ในโซน 7 ซึ่งคุณได้ทดสอบมาแล้วว่าที่โซนนี้ฟิล์มของคุณยังคงให้รายละเอียดได้บ้าง การทำเช่นนี้ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าบริเวณสว่างของภาพจะยังพอเห็นรายละเอียดอยู่บ้าง จากนั้นก็เป็นอันเสร็จเรื่องการวัดแสง




บทความโดย :คนกรุงเก่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จัง ว่าคิดไงกับบทความนี้ครับ

กิจกรรมที่น่าออกทริป

งานแสดงพลุนานาชาติประจำปี 2552-54
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา งานจัดที่ี่เมืองทองธานี โดยการแสดงและการประกวดพลุนานาชาติจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 4 ชุด ได้แก่
- ชุดปฐมฤกษ์เบิกฟ้า มหาราชาในดวงใจจากประเทศจีน
- ชุด ธ จอมไทย เกริกไกรทั่วทิศ จากประเทศญี่ปุ่น
- ชุดพระร่มโพธิ์เพชรปกเกล้า ร่มเย็นทั่วแคว้นแดนสยาม จากชมรมพลุประเทศไทย
- ชุดเกร็ดแก้วแพรวนภา ทั่วหล้าเทิดไท้องค์ราชัน จากประเทศเยอรมนี
ส่วนอีกครั้งในเดือน สิงหาคม และธันวาคม จะที่ไหนนั้น เด๊่ยวผมจะตามเรื่องมาฝากครับ