PHOTOHOW2 การถ่ายภาพ ทิป เทคนิค

สวัสดีปีใหม่ครับ

เริ่มปีใหม่ กับเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม งั้นปีเสือปีนี้ ขอลองเอาภาพทำเป็น Free wallpaper แจกกันไปเลย ทริปไหน มีภาพไหนเด็ด จะทำออกมาให้โหลดไปใช้กันฟรีๆ ลำหรับขนาดที่คิดไว้ก็ขออยู่ที่ 1600x900 พิกก่อนครับ และอีกแนวคิดคือ การพรีวิวกล้องมาใหม่ ทั้งที่เข้า และไม่กล้าเข้าไทย เอาให้หลายๆ จ้าว อย่าง canon nikon panasonic sony olympus ฯ จะได้ครบและหลากหลาย

การเผยแพร่บทความ ทางผมไม่หวงเลยครับ เพียงแต่ขอลงท้ายไว้หน่อยครับว่ามาจาก http://photohow2.blogspot.com/ ^_^..........................นายยอด.

เอาปฏิทินมาฝากครับ เพิ่ง ทำเสร็จ ถ้าชอบ ช่วยส่งต่อด้วย ลองใช้ดูไม่ถูกใจยังไงบอกกันบ้างครับ คลิกตามลิ้งค์นี้ หรือดูตามหัวข้อด้านล่าง
เริ่มเขียนก็เริ่มเยอะ ผมเลยเพิ่มสารบัญมาให้ค้นหาง่ายขึ้นครับ ที่มุมขวามือนี้นะ ------>>>

07 มกราคม 2553

จัดเก็บไฟล์ภาพให้จบ แต่ดูเหมือนไม่จบที่อะไรง่ายๆ

เหตุด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ คู่ทุกข์คู่ยากที่บ้าน แจ้งเตือนผมว่าพื้นที่จัดเก็บเหลือน้อยแล้ว จนไม่พอที่จน รันโปรแกรมได้ ว่างั้น ด้วยที่ว่าในนั้นเต็มไปด้วยไฟล์รูปภาพล้วนๆ เพราะนิสัยที่คิดว่าคนคล้ายๆกันคือ ออกทริป ถ่ายๆภาพ ออกมาเสร็จ ก็โหลด รูปภาพ เข้าเครื่องเก็บ แล้ว เก็บ จนเต็ม ทางเลือกที่เป็นไปได้คือ การมองหาที่จัดเก็บ

อื่น ที่เป็นไปได้ เพื่อโกยเอาไฟล์รูปภาพเก่าไปเก็บ เหลือไว้แต่ไฟล์ใหม่ หรือที่ต้องใช้ประจำไว้ในเครื่องคอม ซึ่งก็จะต้องทำซ้ำๆอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ครับ แล้วคราวนี้จะเลือกการจัดเก็บแบบไหนดีล่ะครับ ก็ในเมื่อเทคโนโลยี การจัดเก็บทุกวันนี้มีการพัฒนาไปไกลมาก เรียกได้ว่าก้าวกระโดด เลยก็ว่าได้

งั้นไม่เป็นไรครับ ก่อนเลือกว่าจะใช้การจัดเก็บแบบไหน ผมขอสรุปการจัดเก็บในแต่ละแบบ มาให้ดูก่อนเลย
โดยได้แยก ออกเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ พวกใช้ไฟ กับพวกไม่ใช้ไฟ ในการที่จะอ่านข้อมูลขึ้นมา


แบบไม่ใช้ไฟก่อนเลย เพราะดูๆ แล้วมีไม่กี่อย่าง
อย่างแรก คือ ดิสก์ ไม่พูดถึงแผ่น A: 3.5 นิ้วซึ่งเลิกใช้จนจะสนิทมาหลายปี งั้นมองไปที่ ซีดี DVD ซึ่ง 2 อย่างนี้ ต่างกันแค่เรื่องความจุ ถ้า ซีดีก็ 750 Mb สูงสุด เรียกว่าถ้าเขียนลงซีดี ต่อ
ทริปผมคงใช้ราวๆ 2-3 แผ่น หรือ DVD ก็ความจุ 4.7 Gb - 8.3 Gb อืม ได้มาเยอะหน่อย


ถ้าถามเรื่องความสะดวก ผมว่าสะดวกดีครับ และก็เปิดกับคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ โดยอ่านผ่าน ซีดี หรือ ดีวีดี รอม ไดร์ฟ ที่ปัจจุบันมีติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็ว่าได้

ราคา ก็ถูกแสนถูก แผ่นเปล่าถ้าแพงสุดก็สิบกว่าบาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแต่ละยี่ห้อ

การจัดเก็บก็เก็บได้นาน ครับ แล้วแต่การเก็บรักษา การใช้งาน ที่พบบ่อยก็แผ่นลอก แผ่นเป็นรอย แผ่นระเบิด หรือหลอม เพราะร้อนมาก สำหรับการบันทึกในรูปแบบนี้ คิดว่ายังอยู่อีกนาน ถ้าการพัฒนาของตัวต่อไป ที่ผมจะพูดถึงไม่ก้าวกระโดด ซะก่อน

แบบใช้ไฟ กลุ่มนี้มีแยกย่อยออกหลายแบบครับ

ที่เก่าแก่ที่สุดเห็นจะเป็น ตัวเก็บข้อมูลที่ชื่อว่า ฮาร์ดดิสก์ จากตัวหนักเป็นกิโล ความจุน้อยๆ ตอนทำงานเสียงดังๆ มาจนถึง ตัวเล็กกว่า
ฝ่ามือ น้ำหนักเบาวิ๋ว เสียงเงียบกริบ ความจุระดับโดนใจ เชื่อเถอะครับว่าการพัฒนาเหล่านี้กินเวลาแค่ไม่เกิน 15 ปี

ความสะดวกก็แยกตามการใช้งานครับ ถ้าติดเข้าภายในคอม ก็จะยุ่งยากหน่อยต้องพึ่งช่าง แต่ถ้าเอามาใส่กล่อง แล้วเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ ผ่านช่องทางสุดฮิต(ในตอนนี้)อย่าง USB ที่เราเรียกว่า External Drive ก็จะสะดวกมากครับ ตัวเล็กน้ำหนักเบา แถมไปได้ทุกที่

ราคา ก็พอลุ้นครับพันกว่าบาท สองพันกว่าเอง จุได้ เป็นร้อยกิ๊ก คูณหารดูแล้วคงทราบผล เพราะถือว่ามาแรงเลยในตอนนี้ครับ

การจัดเก็บ กรณี External drive ผมว่าคิดกันเองว่าง่าย สะดวกหรือเปล่าไม่ทราบได้ อยากจะบอกว่าอย่าลืมว่าข้างในกล้องนั้นคือ ฮาร์ดดิสก์ ที่คุ้นเคยกับเรามาตั้งแต่รุ่นก่อน กับอาการ Bad sector โดนกระแทกแล้วมีเสียงอ่านแครกๆ

เนื่องจากกลุ่มนี้ที่พัฒนามากคือเรื่องความจุ เรื่องความเร็วในการอ่านไม่ขอพูดถึงนะครับ มันเป็นสิ่งที่ต้องทำต้องขยายท่อในการรับส่งให้ขนานไปกับความจุ งั้นพูดถึงเรื่องวิธีการเขียนข้อมูลนะครับ ข้างในก็ยังอาศัยสัญญาณแม่เหล็ก เหมือนเดิมครับ พูดง่ายๆ ก็มีหัวอ่าน มีมอเตอร์หมุนจานผ่านหัวอ่านเขียนเหมือนเดิมครับ
อ่านจบลองเอาหูแนบ external drive ของคุณดูนะครับว่าขณะทำงาน หรือตอนเริ่มต่อสายเปิดใช้มีเสียงหมุนมั้ย

ดังนั้นข้อควรระวังจึงต้องปฏิบัติเหมือน ฮาร์ดดิสก์ ที่ติดอยู่ในเครื่องคอมที่บ้านเหมือนเดิมครับ ไม่ว่าจะเป็น กระแทก ไฟกระชาก อุณหภูมิ ความชื้น จริงอยู่ทที่อาจจะบอกว่ามีประกันนะ 5 ปี ผมว่าดีแล้วครับที่ประกันอย่างน้อยก็ได้ของใหม่ แล้วไฟล์เราล่ะครับต้องถ่ายใหม่หรือเปล่าเอ่ย อันนี้ล่ะครับ ที่ควรเอามาประกอบในการตัดสินใจ

อีกประเภทหนึ่งที่นำเอาฮาร์ดดิสก์ หลายๆลูกมาทำเป็นโซลูชั่น เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้ เรียกโดยรวมว่า Storage Device แถมเดี๋ยวนี้มีเพิ่ม ระบบจัดการภายในเครื่องให้เสร็จสรรพ(NAS) ทำงานเหมือน server ไปเลย เราแค่ต่อสายเข้ากับคอม ผ่าน usb หรือ สาย LAN ก็ copy ไฟล์ โยนเข้าๆ ใช้เสร็จก็ยกเจ้าเครื่องเก็บได้เพราะตัวเล็ก (ประมาณ 6x8 นิ้ว) แต่ให้ความจุเยอะเป็น เทร่าไบต์ (ราวๆ 1000 กิ๊ก) เพราะข้างในกล่องตัวยี้ประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์ 2-4 ลูก ตามแต่จะออกแบบ ให้ช่วยกันจัดเก็บ หรือสำรองข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อป้องกันกรณีลูกใดลูกนึงเกิดหยุดการทำงาน

ราคาของเจ้ากล่องนี้ เริ่มต้นในบ้านเรา ก็อยู่ที่ 5000-6000 กว่าๆครับ เรียกได้ว่าเป็น server ย่อมๆเลย

เห็นมั้ยล่ะ ยาวจริงๆด้วย นี่แค่เรื่องจัดเก็บนะครับ ผมว่าเค้าลางคงพอจะเห็นบ้างแล้ว แต่หากยังฟันธงไม่ได้ว่าจะใช้การจัดเก็บแบบไหนดี ก็รออีกซักนิดครับ ผมมีอีกแบบที่จะตามมา แถมมาแรงพอๆ กันเลย แต่เป็นบทความหน้านะ วันนี้ขอตัวไปส่ง CD writer เคลมก่อน ประกัน 1 ปี นี่ก็อีกไม่กี่เดือนแล้ว ครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง


1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อธิบายแบบเข้าใจง่าย
ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จัง ว่าคิดไงกับบทความนี้ครับ

กิจกรรมที่น่าออกทริป

งานแสดงพลุนานาชาติประจำปี 2552-54
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา งานจัดที่ี่เมืองทองธานี โดยการแสดงและการประกวดพลุนานาชาติจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 4 ชุด ได้แก่
- ชุดปฐมฤกษ์เบิกฟ้า มหาราชาในดวงใจจากประเทศจีน
- ชุด ธ จอมไทย เกริกไกรทั่วทิศ จากประเทศญี่ปุ่น
- ชุดพระร่มโพธิ์เพชรปกเกล้า ร่มเย็นทั่วแคว้นแดนสยาม จากชมรมพลุประเทศไทย
- ชุดเกร็ดแก้วแพรวนภา ทั่วหล้าเทิดไท้องค์ราชัน จากประเทศเยอรมนี
ส่วนอีกครั้งในเดือน สิงหาคม และธันวาคม จะที่ไหนนั้น เด๊่ยวผมจะตามเรื่องมาฝากครับ